้neverzero

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โทมัส เอดิสัน


โทมัส อัลวา เอดิสัน (อังกฤษThomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน
เอดิสัน เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 ที่เมืองมิลาน (Milan) รัฐโอไฮโอ เป็นลูกคนที่ 7 และคนสุดท้าย ของนายแซมมวล เอดิสัน (Samuel "The Iron Shovel" Edison, Jr.) และนางแนนซี แมทธิวส์ เอลเลียต (Nancy Matthews Elliott) ขณะที่เขาเกิด บิดาของเขามีอายุ 43 ปี และมารดาของเขามีอายุ 37 ปี ในวัยเด็ก ทุกคนมักเรียกเอดิสันว่า "อัล" ในวัยเด็กเขาเป็นคนที่สนใจในเรื่องรอบตัว และชอบถามคนอื่นๆ ให้เกิดความเข้าใจ และนอกจากนี้ เขายังชอบทดลองทำอะไรด้วยตนเอง
ค.ศ. 1853 ขณะอายุ 6 ปี นิสัยชอบทดลองของเอดิสันก็นำความเดือดร้อนมาให้เขา เมื่อเขาทดลองเกี่ยวกับไฟด้วยตนเอง จนทำให้เกิดไฟไหม้ และถูกบิดาทำโทษต่อหน้าสาธารณชน เพราะถ้าไฟถูกดับช้ากว่านี้ ไฟอาจลามไปในตัวเมืองได้ ยิ่งบ้านเมืองสมัยนั้นที่ใช้ไม้ในการสร้างด้วย หากไฟลามเข้าตัวเมืองได้ ก็อาจเป็นหายนะอย่างใหญ่หลวง แต่โชคดีที่ชาวบ้านช่วยกันดับไฟได้ทัน
ค.ศ. 1854 ครอบครัวเอดิสันย้ายมาอยู่ที่พอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน
ค.ศ. 1855 เอดิสันเข้าเรียนในชั้นประถมขณะอายุ 8 ปี เป็นโรงเรียนเล็กๆในโบสถ์ มีนักเรียนเพียง 48 คน มีครูเพียงสองคนคือ นายเอ็งเกิล และนางเอ็งเกิล (Engle) แต่ด้วยความที่เอดิสันมีมีนิสัยสนใจในสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เนื้อหาในตำราคร่ำครึ สิ่งที่เขาสนใจถามครูจึงไม่ใช่เรื่องที่ครูสอน แต่เป็นเรื่องนอกตำรา นายและนางเอ็งเกิล จึงมักเรียกเขาว่าเป็นเด็กที่หัวขี้เลื่อย เมื่อมารดาทราบเรื่อง จึงไปพูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียน หลังการพูดคุย เอดิสันต้องออกจากโรงเรียน โดยมารดาของเขาจะเป็นผู้สอนเอดิสันด้วยตนเอง หลังจากเข้าโรงเรียนได้ 3 เดือนเท่านั้น
เอดิสัน ชื่นชอบหนังสือนอกเวลาเล่มหนึ่ง ซึ่งมีภาพและเนื้อหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านทดลองเองได้ เขามีความสนใจที่จะทำการทดลองในหนังสือ ใน ค.ศ. 1857 พ่อและแม่ของเขาจึงสร้างห้องใต้ดินเพื่อให้เอดิสันได้ทำการทดลองต่างๆ ในหนังสือ และเขาก็ได้ทำการทดลองมากมายในห้องใต้ดินนั้น
ค.ศ. 1859 เอดิสันทำงานหารายได้พิเศษโดยการขายลูกอมและหนังสือพิมพ์บนรถไฟ
ค.ศ. 1860 เอดิสันประสบอุบัติเหตุซึ่งส่งผลให้การได้ยินของเขาเสื่อมลง นับแต่นั้นเขาได้ยินเฉพาะเสียงดังๆ เท่านั้น หลังจากนั้นไม่นาน เขาได้ขอสร้างห้องทดลองขึ้นบนรถไฟ
ค.ศ. 1862 เอดิสันเป็นบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์ เดอะวีคลี่เฮรัลด์ ต่อมาสักพักก็เลิกทำ หลังจากนั้นก็เกิดอุบัติเหตุบนห้องทดลองในรถไฟ ทำให้เอดิสันไม่ได้รับอนุญาตให้มีห้องทดลองบนรถไฟอีก ในปีเดียวกัน เขาก็เริ่มศึกษาเรื่องการใช้โทรเลข
ค.ศ. 1863 เอดิสันเข้าเป็นพนักงานส่งโทรเลข เขาเปลี่ยนบริษัทบ่อยมาก ในปีเดียว เขาเปลี่ยนบริษัททำงานถึง 4 ครั้ง ตามสถานที่ต่างๆ ในอเมริกาและแคนาดา
ค.ศ. 1864 เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกการนับคะแนน และยื่นขอจดสิทธิบัตร แต่เครื่องนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน
ค.ศ. 1869 เขาเดินทางไปยังนิวยอร์ก และเปิดบริษัทวิศวกรไฟฟ้าขึ้น บริษัทนี้ถอว่าประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง
ค.ศ. 1871 สร้างอาคารซึ่งเปิดเป็นโรงงานและศูนย์วิจัยในตัวขึ้น และในปีนั้น เขาพบรักและแต่งงานกับ แมรี สติลเวลล์ (Mary Stilwell) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสัน 8 ปี และ ในปีนั้น แนนซีผู้เป็นมารดาของเอดิสัน เสียชีวิตลงในวัย 61 ปี
ค.ศ. 1876 สร้างอาคารโรงงานและศูนย์วิจัยใหม่ที่เมนโลพาร์ก (Menlo Park) รัฐนิวเจอร์ซี และเริ่มลงมือประดิษฐ์โทรศัพท์ แต่ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ คิดค้นขึ้นได้ก่อน
ค.ศ. 1877 เอดิสันประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น และฉายา พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก ก็ได้มาจากการที่เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงนี้
ค.ศ. 1878 เอดิสันเริ่มศึกษาคนคว้าคิดจะทำหลอดไฟ เพราะไฟส่องสว่างในสมัยนั้นสามารถก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย
ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์หลอดไฟไส้คาร์บอนสำเร็จ และเริ่มออกแบบสวิตช์เปิด-ปิดหลอดไฟให้ติดตั้งในบ้านเรือนได้ง่าย นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลอดไฟในโลกนี้
ค.ศ. 1880 เปลี่ยนไส้หลอดไฟจากคาร์บอนเป็นไม่ไผ่ญี่ปุ่น เพราะหลอดคาร์บอน ส่องสว่างได้นาน 40 ชั่วโมง แต่หลอดไม้ไผ่ญี่ปุ่น ส่องสว่างได้ถึง 900 ชั่วโมง
ค.ศ. 1882 สร้างโรงจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นที่นิวยอร์ก และเริ่มประกาศเทคโนโลยีหลอดไฟให้เป็นที่รู้จัก
ค.ศ. 1883 เขาประดิษฐ์หลอดไฟรุ่นใหม่ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปได้ ทำให้หลอดไฟแพร่กระจายไปตามจุดต่างๆของโลกเร็วขึ้น
ค.ศ. 1884 แมรี ภรรยาของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรคไทฟอยด์ในวัย 29 ปี
ค.ศ. 1886 เอดิสันแต่งงานใหม่กับมินา มิลเลอร์ (Mina Miller) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสัน 19 ปี
ค.ศ. 1891 ประดิษฐ์เครื่องถ่ายภาพตัดต่อสำเร็จ บันทึกภาพเคลื่อนไหว ซึ่งนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์
ค.ศ. 1893 สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก
ค.ศ. 1894 ภาพเคลื่อนไหวเรื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้น มีชื่อว่า "บันทึกการจาม" แต่ยังไม่มีเสียง
ค.ศ. 1896 บิดาของเอดิสันเสียชีวิตลงในวัย 92 ปี และในปีนั้น เอดิสันรู้จักกับเฮนรี ฟอร์ด ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็เป็นเพื่อนซี้กัน
ค.ศ. 1898 เริ่มประดิษฐ์แบตเตอรี่ และประดิษฐ์สำเร็จใน ค.ศ. 1909
ค.ศ. 1912 เกิดการใช้เครื่องถ่ายภาพตัดต่อและเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกัน ทำให้เกิดเป็น "ภาพยนตร์" ที่มีทั้งภาพและเสียง
หลังจากนั้น เขาถูกนักข่าวรุมถามเสมอว่า เอดิสันคิดอย่างไรกับการที่คนทั่วไปเรียกเขาว่าอัจฉริยะ เขาตอบว่าคำว่าอัจฉริยะในความคิดของผม ประกอบด้วยพรสวรรค์เพียง 1% ส่วนอีก 99% มาจากความพยายาม
หลังจากนั้น เอดิสันใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน และเสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 ด้วยวัย 84 ปี ที่เวสต์ออเรนจ์ (West Orange) รัฐนิวเจอร์ซี
เอดิสัน นั้นกล่าวได้ว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่มีผลงานมากที่สุดในยุคนั้น เขามีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม นอกจากสิทธิบัตรของเขาซึ่งมีอยู่ทั่วโลกแล้ว เอดิสันก็ยังได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ ภายใต้ชื่อ Edison Trust
ในความเป็นจริงแล้ว เอดิสันไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย
นิตยสารไลฟ์ (Life) ได้ยกย่องให้เอดิสันเป็นหนึ่งใน "100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา"

แก้ว


แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture)
แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper)
แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica)
เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน
แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์ ;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ
องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้
    SiO2 70%
    Na2O 15%
    CaO 8%
    และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น
อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น
  • เติมตะกั่ว (จากวัตถุดิบเช่น ลิธาจ;Litharge) และกลายเป็น PbO ในเนื้อแก้ว เพื่อให้แก้วหนักขึ้น เนื้อแก้วหยุ่นเหนียวและแวววาว ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่าแก้วคริสตัล
  • เติมแบเรียมและสังกะสี (BaO, ZnO) เพื่อช่วยทำให้แก้วมีลักษณะคล้ายแก้วคริสตัลโดยไม่ใช้ตะกั่วเป็นต้น

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยา


แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ความคึกคักของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อนานมาแล้ว
จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

[แก้]การขุดลัดแม่น้ำ

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่แสดงตำแหน่งการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด ซึ่งประกอบด้วย
  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[2] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

[แก้]ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

[แก้]ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

[แก้]ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

[แก้]จังหวัดนนทบุรี

[แก้]กรุงเทพมหานคร

[แก้]จังหวัดสมุทรปราการ