้neverzero

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แม่น้ำเจ้าพระยา


แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ความคึกคักของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อนานมาแล้ว
จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

[แก้]การขุดลัดแม่น้ำ

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่แสดงตำแหน่งการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด ซึ่งประกอบด้วย
  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[2] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

[แก้]ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

[แก้]ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

[แก้]ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

[แก้]จังหวัดนนทบุรี

[แก้]กรุงเทพมหานคร

[แก้]จังหวัดสมุทรปราการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น