้neverzero

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โค๊ก-โคคาโคล่า


โค้ก (อังกฤษCoke) หรือ โคคาโคล่า (อังกฤษCoca Cola) คือเครื่องหมายการค้าของบริษัทโคคาโคล่า สำนักงานใหญ่อยู่ที่ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ในสหรัฐอเมริกา โค้กเป็นน้ำอัดลมชนิดน้ำโคล่า ที่ได้รับความนิยมในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญคือ เป๊ปซี่ โค้กถูกคิดค้นโดยนายจอห์น เพมเบอร์ตัน (John Pemberton) ทหารในกองทัพสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงแม้ว่าโค้กจะถูกอ้างถึงในกรณีที่เป็นเครื่องดื่มที่ทำให้เสียสุขภาพ เช่น ทำให้ฟันผุ ทำให้ปวดท้อง หรือเป็นโรคอ้วน แต่โค้กยังคงได้รับความนิยมทั่วโลกในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20
ในประเทศไทย โค้ก ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัทไทยน้ำทิพย์ และบริษัทหาดทิพย์ เฉพาะในเขตภาคใต้

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]

โค้กรสชาติต่างๆ

  • โค้ก
  • ไดเอทโค้ก
    • ไดเอทโค้ก คาเฟอีนฟรี
    • ไดเอทเชอร์รี่โค้ก (1986)
    • ไดเอท วานิลลาโค้ก (2002)
    • ไดเอทโค้ก พลัส (2007)
  • เชอรี่โค้ก - โค้กแต่งกลิ่นเชอร์รี่ (เคยนำมาขายที่ประเทศไทย ปัจจุบันยกเลิกการผลิต)
  • วานิลลาโค้ก - โค้กแต่งกลิ่นวานิลลา ( เคยนำมาขายที่ประเทศไทยโดยออกเป็นรสชาติพิเศษเฉพาะกิจ ปัจจุบันยกเลิกการผลิต)
  • โค้ก ไลม์ - โค้กแต่งกลิ่นมะนาว
  • โค้ก C2 - โค้กที่ลดปริมาณน้ำตาลครึ่งหนึ่ง
  • โค้ก ซีโร่ - โค้กที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล พื้นของฉลากจะใช้สีดำแทนสีแดง
  • โค้ก แบล็ก - โค้กผสมกาแฟ
  • โค้ก ส้ม - โค้กแต่งกลิ้นส้ม (2007)

[แก้]ส่วนผสมของโค้ก

ส่วนผสมของโค้กถือเป็นความลับของบริษัทเช่นเดียวกับสูตรผสมของ เป๊ปซี่ เคเอฟซี และ แม็คโดนัลด์ ส่วนผสมของโค้กนั้น มีพนักงานในบริษัทโคคาโคล่าเพียงไม่กี่คนที่รู้และได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการผสม โดยทางบริษัทใช้ชื่อส่วนผสมว่า "7X" โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงว่า X หมายถึงอะไร และพนักงานบริษัทจะทำการผสมสูตรต่างๆ ตามหมายเลขของส่วนผสมแทนที่ชื่อของส่วนผสมเพื่อป้องกันสูตรรั่วไหล
ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 พนักงานบริษัทโค้ก 2 คนและเพื่อนอีก 2 คน ถูกจับกุมข้อหาพยายามขโมยสูตรส่วนผสมโค้กและขายให้แก่เป๊ปซี่ในราคา 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

[แก้]เรื่องเล่าและข่าวลือเกี่ยวกับโค้ก

โค้กมีเรื่องเล่าและข่าวลือมากมายกล่าวถึงผลเสียเนื่องจากโค้ก ซึ่งข่าวลือยังมีปรากฏแม้แต่ในเว็บไซต์สภากาชาดไทย[1] เรื่องราวต่างๆ ส่วนมากจะเน้นในแนวขำขันและการนำโค้กไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ปริมาณกรดในโค้กมีมากเพียงพอที่จะทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ในความเป็นจริงค่าความเป็นกรดด่าง หรือ pHของโค้กมีค่า 2.5 ซึ่งใกล้เคียงกับมะนาว หรือ เลมอน มีค่า pH 2.4 หรือ ส้ม มีค่า pH 3.5 หรือแม้แต่ข่าวลือว่าตำรวจสหรัฐอเมริกาใช้โค้กในการล้างเลือดบนถนนกรณีเกิดเหตุรถชน หรือแม้แต่โค้กสามารถละลายฟันในช่องปากในตอนกลางคืน หรือโค้กใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โค้กที่มีฤทธิ์เป็นกรดเทฆ่าอสุจิ ซึ่งข่าวลือต่างๆ เป็นเพียงเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน (ถึงแม้ว่ารายการมิธบัสเตอร์ส ได้มีการทดสอบในการใช้โค้กช่วยในการล้างเลือดที่เปื้อนเสื้อผ้า) ข่าวลือยังมีกล่าวว่าโค้กใช้ในการขจัดคราบเกลือ บริเวณขั้วแบตเตอรีรถยนต์ให้สะอาดได้ ซึ่งโดยปกติแล้วคราบเกลือสามารถกำจัดได้โดยใช้น้ำอุ่นธรรมดาเช่นเดียวกัน
โค้กยังคงมีใช้ในการกำจัดสนิม โดย กรดฟอสโฟริกในโค้กเปลี่ยนออกไซด์ของเหล็กให้เป็นฟอสเฟตซึ่งใช้ในการกำจัดสนิมเหล็กได้

[แก้]รูปภาพโค้กจากสื่อต่างๆ

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ น้ำ กับ โค้ก ผลเสียของโค้กจากเว็บไซต์สภากาชาดไทย

[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น